วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ติดตั้ง LAMP (Linux, Apache, MySQL and PHP) ง่ายๆ คำสั่งเดียว

การติดตั้ง LAMP (Linux, Apache, MySQL and PHP) สำหรับผู้ที่ลง Ubuntu desktop สามารถติดตั้ง LAMP ได้ตามขั้นตอนนี้
  • เปิด เทอร์มินัลใช้คำสั่ง sudo apt-get install tasksel
  • รอจนการติดตั้งโปรแกรมเสร็จใช้คำสั่ง sudo tasksel
  • เลือก LAMP Server จากหน้าจอโปรแกรม แล้วติดตั้งตามขั้นตอนที่โปรแกรมให้ทำตาม
สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดใช้ LAMP สามารถใช้ XAMPP บน Ubuntu เพื่อติดตั้ง apache php MySQL ทดแทนได้ครับ

    วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    chromium thai รุ่นไทยไม่เพี้ยน

    รอกันมานาน สำหรับ patch เพื่อแก้ไขปัญหาภาษาไทยสำหรับ Chromium หรือจะเรียกว่า Google Chrome เวอร์ชั่นเสรี ในกลุ่มโอเพ่นซอร์ส ซึ่งทั้งสองโปรแกรมบนอูบุนตูนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผลภาษาไทยมาสักพักแล้ว
    ต้องขอขอบคุณทีม chromium-thai ที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้กับ พวกเรา ส่วนวิธีการติดตั้งโปรแกรมมี 2 แบบดังนี้

    1. chromium thai รุ่น Beta (พัฒนา)
    chromium-thai-ppa
    • sudo apt-add-repository ppa:thai/chromium-thai-ppa
    • sudo apt-get update
    • sudo apt-get install chromium-browser
    2.chromium thai รุ่น Stable (เสถียร)
    chromium-thai-stable
    • sudo apt-add-repository ppa:thai/chromium-thai-stable
    • sudo apt-get update
    • sudo apt-get install chromium-browser
    ซึ่งส่วนตัว ผมใช้รุ่น Bata อยู่ ตอนนี้ให้เป็น Default browser ของ Ubuntu 10.10 ไปแล้วครับ ข้อมุลตามนี้ http://ubuntuclub.com/node/2332 ขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้ทีมพัฒนาครับ

    วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

    ปัญหาฟอนต์ไทยของ อูบุนตู


    สิ่งที่พบกันเป็นประจำ เมื่อมีการบันทึก หรือพิมพ์งานที่ใช้ฟอนท์ภาษาไทย ระหว่างเครื่องที่ใช้งานวินโดวส์ กับ อูบุนตู คือปัญหาฟอนต์ไทยไม่ตรงกัน หรือมีอักษรประหลาดต่างๆ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวนี้ จากประสบการณ์ที่เคยติดตั้งอูบุนตู เราควรติดตั้งฟอนต์ตามนี้
    1. ฟอนต์สำหรับใช้ในหน้าจอโปรแกรมต่างๆ คือ Tahoma สำหรับฟอนต์ลงได้โดยใช้คำสั่ง apt-get install ttf-tahoma-replacement จะดีกว่าติดตั้งโดยคัดลอกฟอนต์ จากวินโดวส์มาลงเอง
    2. ฟอนต์สำหรับใช้ในงานการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น Angsana New, Bromlila New, Cordia New เป็นฟอนต์ที่นิยมใช้ในการพิมพ์งาน เพราะมีการใช้ในเอกสารต่างๆ มานานแล้ว ซึ่งสามารถคัดลอกไฟล์จากวินโดวส์ ลงไปที่โฟลเดอร์ /usr/share/fonts/truetype ของอูบุนตู
    3. ฟอนต์ใหม่ที่สร้างทดแทน ฟอนต์วินโดวส์เดิม ซึ่งฟอนต์ชุดนี้เหมาะนำมาใช้งานกัน อูบุนตูมากที่สุด สามารถโหลดอ่านวิธีติดตั้ง และโหลดฟอนต์ที่ http://www.thaitux.info/node/275
    บทความนี้เขียนเพื่อเป็นบันทึกย่อๆ ซึ่งไม่มีรายละเอียดมากนะ เนื่องจากขั้นตอนย่อยๆ สามารถหาอ่านได้ทั่วไปอยู่แล้วครับ

    วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

    Samsung CALAXY SPICA (GT-I5700)

    มือถือแอนดรอยด์รุ่นนี้ เริ่มเข้ามาขายในประเทศไทยอย่างเงียบๆ ประมาณต้นมกราคม 2553 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งราคาพอหามาซื้อใช้งานกันได้ และมีสเปคเครื่องที่ไม่ช้าจนเกินไป ก็แนะนำให้ลองดูเปรียบเทียบกัน กับมือถือรุ่นอื่นๆ
    ตอนนี้กำลังเล่นกับมันอยู่ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไร? จะพยายามเขียนเป็นระยะๆ ต่อไปครับ
    ข้อมูลเกี่ยวกับแอนดรอยด์

    วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

    GPG error ของ Medibuntu.org , ppa.launchpad.net , deb.opera.com


    จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่(แต่มันรำคาญ) พอเราใช้คำสั่ง sudo apt-get update จะมีข้อความแจ้งปัญหา GPG error: ตอนนี้เจอสามตัว แก้แต่ละตัวตามนี้
    • GPG error: http://packages.medibuntu.org karmic Release: ตัวนี้เป็นของ Medibuntu แก้ไข ใช้คำสั่ง sudo apt-get update && sudo apt-get install medibuntu-keyring && sudo apt-get update
    • GPG error: http://ppa.launchpad.net karmic Release: ตัวนี้เป็นของ ppa.launchpad.net ตัวนี้มีผู้ที่ Script ชื่อ launchpad-update ให้ Download มา และใชคำสั่ง sh launchpad-update
    • GPG error: http://deb.opera.com lenny Release: ตัวนี้เป็นของ Opera แก้ไขใช้คำสั่งเป็น wget -O - http://deb.opera.com/archive.key | sudo apt-key add -
    เสร็จแล้วข้อความ Error ไม่ควรจะขึ้นมาอีกครับ
    อ้างอิงข้อมูล